วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2552

การดื่มสุราเพือสังคมเป็นบาปมัย

ปุจฉา
การดื่มสุราก็เช่นเดียวกันบางครั้งก็จำเป็นต้องดื่มเพื่อสังคมถ้าเราไม่ดื่มก็เข้ากับเขาไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำอย่างไรดื่มเมานอนเสียจะบาปหรือไม่?

วิสัชนา
ตามหลักความเป็นจริงแล้วการกล่าวอ้างบุคคลสังคมว่าที่ตนต้องกระทำไปเช่นนั้น เพราะสังคมเพราะคนนั้นคนนี้เป็นต้น พระสารีบุตรเถระได้กล่าวแก่ธนัญชานิพราหมณ์ผู้เป็นข้าราชการผู้ใหญ่แต่ฉ้อหลวงบังราษฎร์ แล้วอ้างว่าตนทำเพื่อพ่อแม่ บุตรภรรยา เป็นต้นความว่าคนที่ทำความผิดแล้วอ้างว่าทำเพื่อใครก็ตามเวลาตายไปจะบอกนายนิรยบาลเขาได้ไหมว่าที่ตนทำผิดไปเพราะต้องทำเพื่อคนอื่นขออย่าได้ถือเป็นความผิดเลยหรือคนที่เราอ้างว่าเราทำความผิดไปเพื่อพวกเขาจะไปขอร้องต่อยมบาลว่าขออย่าได้ลงโทษเขาเลย คนๆนี้ต้องทำความผิดเพื่อพวกตนซึ่งปรากฏว่าไม่มีข้ออ้างเพื่อไม่ต้องรับโทษสำหรับการกระทำความผิดไม่ว่าจะเพื่อ
ใครโดยใครก็ตาม "นี่คือหลักสากลแม้ในด้านกฎหมายก็มีลักษณะเดียวกัน"

ในกรณีของการกล่าวว่าตนจำเป็นต้องดื่มสุราเพื่อสังคมซึ่งมีคนกล่าวอ้างกันเป็นอันมากนั้นมีหลักในการพิจารณาเช่นเดียวกับที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ แต่ในกรณีของการดำรงชีวิตแบบชาวบ้านนั้นเราจำเป็นต้องมองปัญหาตามที่มีอยู่เป็นอยู่ในสังคมว่าข้อเท็จจริงในสังคมเป็นอย่างไร? การดำรงชีวิตของคนในโลกนั้นเมื่อจำแนกออกจะได้เป็นกลุ่มๆจะได้ ๓ กลุ่มใหญ่ๆคือ
๑.ถือเอาความคิดเห็นของตนเป็นประมาณในการตัดสินปัญหาการแก้ปัญหาการทำงาน เป็นต้นซึ่งออกจะเป็นการเสี่ยงมากอยู่
๒.ถือเอาความคิดเห็นของสังคมคือคล้อยตามความเคลื่อนไหวของสังคม ค่านิยมของสังคม ปัญหาในเรื่องนี้ตัวกำหนดความถูกผิดจึงอยู่ที่สังคมว่า สังคมที่เราเคลื่อนไหวไปตามนั้นเป็นสังคมประเภทใด?
๓.ถือเหตุผลความถูกต้อง ตามหลักธรรม กฎหมาย จารีตประเพณี เป็นมาตรฐานในการดำรงชีวิตซึ่งเป็นเหมือนการขับรถไปตามกฎจราจร อันตรายไม่อาจเกิดขึ้นได้ตราบเท่าที่เขายังยึดมั่นในหลักการอันถูกต้องนั้นๆอยู่
หลักในการดำรงชีวิต ๓ ระดับนี้ สำหรับบัณฑิตแล้วแม้การถือความคิดเห็นของตนเองหรือสังคมเป็นหลักในบางกรณีก็ตาม แต่ความคิดเห็นของตนและสังคมนั้นจะต้องยุติด้วยเหตุผลและความถูกตรงนัยที่ ๓ ตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น