วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552

พระพุทธศาสนาเข้ากับวิทยาศาสตร์จริงหรือ

วิปัชนา:2
พระพุทธศาสนากล่าวถึงกฎของการดึงดูดว่าน้ำตกจากที่สูงย่อมไหลลงสู่ที่ลาดลุ่มฉันใดจิตใจที่ถูกกระแสแห่งกิเลสดึงดูดไว้เรียกว่า โลกิยจิต แต่จิตนั้นอาจทำให้พ้นจากกระแสการดึงดูดได้ ด้วยความเพียรพยายามจนเป็นโลกุตรจิต เหมือนน้ำที่ไหลลงสู่ที่ลาดลุ่มตามปกติ แต่อาจใช้กรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ทดน้ำขึ้นสู่ที่สูงจนถูกความร้อนแผดเผากลายเป็นไอได้ ยิ่งในด้านจิตวิทยาอันเป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งด้วยแล้ว เขากล่าวว่าให้ยกไลเมนขึ้นสูงกว่าสิ่งเร้า ซึ่งหมายถึงการยกจิตให้สูงกว่าอำนาจฝ่ายต่ำนั้นเองนี่เป็นเสี้ยวหนึ่งของพระพุทธศาสนาด้วยซ้ำไป

คำสอนเรื่องทางสายกลางของพระพุทธศาสนาก็มีหลักการอันเดียวกับวิทยาศาสตร์ให้สังเกตว่าเครื่องวัดอุณหภูมิก็ดี วัดความเร็ว ความชื้น ความดัน กระเเสไฟฟ้าเป็นต้นก็ดี เพื่อต้องการรักษาจุดกลางเอาไว้นั้นเอง ไม่อย่างนั้นก็ระเบิดหรือเป็นอันตรายได้ แม้เรื่องความเกิดขึ้นของโลกพระพุทธศาสนา ถือว่าเกิดจากเหตุปัจจัยคล้ายๆกับทฤษฎีหมอกเพลิงทางวิทยาศาสตร์ วิชาจักรวาลวิทยาปัจจุบันได้ค้นพบระบบสุริยจักรวาลเป็นอันมากจนถึงกับได้พบระบบหนึ่งเรียกว่า "คัทเตอร์ในเจมินี" มีพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางถึง ๖ ดวง มีจักรวาลดารกาเป็นบริวารขึ้นต้นด้วยเลข ๒๓ ตามด้วยศูนย์ ๒๗ ตัว

พระพุทธศาสนาแสดงเรื่องนี้ไว้อย่างไรรู้ไหม?
พระพุทธศาสนาบอกว่าจักรวาลนั้นมีมากจนใช้คำว่าอนันตจักรวาลหรือแสนโกฏิจักรวาลบางจักรวาลมีพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ๑-๒-๓-๔-๕-๖-ถึง๗ดวงยังล้ำหน้าวิทยาศาสตร์ไปอีกระบบหนึ่งซึ่งวิทยาศาสตร์ยังค้นไม่พบ ยังมีเรื่องอื่นๆอีกมากแต่ที่ไม่ควรลืมคือพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ตรงกันในด้านหลักการวิธีการบางอย่างเท่านั้นไม่ใช่เหมือนกันทุกอย่าง เพราะฝ่ายหนึ่งเน้นหนักด้านนามธรรมฝ่ายหนึ่งเน้นหนักด้านรูปธรรมอีกประการหนึ่ง "ผลิตผลที่เกิดขึ้นตามกรรมวิธีทางพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์มีส่วนที่ผิดกันอยู่บ้าง คือ ของวิทยาศาสตร์นั้นมีคุณอนันต์แต่มีโทษมหันต์ ส่วนผลิตผลที่เกิดขึ้นถูกต้องตามกรรมวิธีทางพระพุทธศาสนามีคุณอนันต์อย่างเดียวไม่มีโทษ"นี่ว่าถึงผลิตผลที่เกิดขึ้นถูกต้องตามกรรมวิธีทางพระพุทธศาสนานะ หากผิดจากกรรมวิธีทางพระพุทธศาสนาไม่รับรอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น